วิธีปลูกกล้วยไม้พันธุ์รองเท้านารี
travel
อักษรวิ่ง
วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562
กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี Paphiopedilum
กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
รองเท้านารีอินทนนท์
Paphiopedilum villosum
เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่พบเมื่อ พ.ศ.2396 มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแถบที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิต่ำ เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูง ลักษณะของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลาย โคนใบส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อยๆ จางหายตรงส่วนปลายใบ ใบยาวบางและอ่อน เป็นรองเท้านารีที่มีเกสรตัวผู้ ต่างจากชนิดอื่นคือ เกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็นก้อนแข็งค่อนข้างใส มีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียวรองเท้านารีเหลืองปราจีนPaphiopedilum concolor
ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่
รองเท้านารีเมืองกาญจน์Paphiopedilum parishii
ค้นพบเมื่อ พ.ศ.2402 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดกาญจนบุรีและกำแพงเพชร เป็นกล้วยไม้อากาศเกาะอยู่ตามต้นไม้มีลักษณะเด่น คือ มีกลีบในคู่บิดเป็นเกลียวเป็นสายยาวกว่ากลีบนอกประมาณสามเท่าตัว
รองเท้านารีเหลืองตรังPaphiopedilum godefroyae
ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2419 ขึ้นตามโขดหิน ถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะรัง จังหวัดชุมพร ลักษณะเด่น คือ ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมีขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสองข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอนปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย
รองเท้านารีอ่างทองPaphiopedilum angthong
ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา
|
รองเท้านารีสุขะกุล
Paphiopedilum sukhakulii
ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2507 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดเลยบนยอดภูหลวง กล้วยไม้พันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นกลีบสีเขียวมีจุดสีม่วงประปรายทั่วกลีบ ปลายกลีบดอกแหลม พื้นกลีบมีสีทางสีเขียวถี่ๆ ลายทางจากโคนดอกวิ่งไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในกางเหยียด ขอบกลีบมีขนเช่นเดียวกับบริเวณโคนดอก
รองเท้านารีเหลืองพังงา
Paphiopedilum leucochilum
ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น
คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง
และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล
ที่มา : http://panmai.com/Orchid/Paph/paph.shtml
|
การจำแนกกล้วยไม้
จำแนกตามลักษณะราก
เป็นการจำแนกตามลักษณะรากหรือตามระบบรากของกล้วยไม้
ระบบรากดิน
จัดเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากเกิดจากหัวที่อวบน้ำอยู่ใต้ดิน ตัวรากจะมีน้ำมาก เช่นกล้วยไม้สกุลนางอั้ว กล้วยไม้ประเภทนี้พบมากบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพอากาศในฤดูกาลที่ชัดเจน เช่น ฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูฝนหัวจะแตกหน่อใบอ่อนจะชูพ้นขึ้นมาบนผิวดิน และออกดอกในตอนปลายฤดูฝน เมื่อพ้นฤดูฝนไปแล้วใบก็จะทรุดโทรมและแห้งไป คงเหลือแต่หัวที่อวบน้ำและมีอาหารสะสมฝังอยู่ใต้ดินสามารถทนความแห้งแล้งได้
ระบบรากกึ่งดิน
มีรากซึ่งมีลักษณะอวบน้ำใหญ่หยาบและแตกแขนงแผ่กระจายอย่างหนาแน่นสามารถเก็บสะสมน้ำได้ดีพอสมควร กล้วยไม้ประเภทนี้พบอยู่ตามอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพังร่วนโปร่ง กล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งดิน ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลสเปโธกล๊อตติส สกุลเอื้องพร้าว เป็นต้น
ระบบรากอากาศ
กล้วยไม้ที่มีระบบรากเป็นรากอากาศจะมีรากขนาดใหญ่ แขนงรากหยาบ เซลล์ที่ผิวรากจะทำหน้าที่ดูดน้ำ เก็บน้ำและนำน้ำไปตามรากได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี รากอากาศไม่ชอบอยู่ในสภาพเปียกแฉะนานเกินไป นอกจากนั้นปลายรากสดมีสีเขียวของคลอโรฟีลล์สามารถทำหน้าที่ปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับใบเมื่อมี่แสงสว่าง เพราะฉะนั้นรากประเภทนี้จึงไม่หลบแสงสว่างเหมือนรากต้นไม้ดินทั่วๆ ไป กล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลกุหลาบ สกุลแมลงปอ สกุลเข็มและกล้วยไม้สกุลเรแนนเธอร่า
จำแนกตามลักษณะลำต้น
สำหรับลำต้นของกล้วยไม้ที่โผล่พ้นจากเครื่องปลูกแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลำต้นแท้ และลำต้นเทียม
ลำต้นแท้
ลำต้นเทียม
ที่มา:http://panmai.com/Orchid/orchid3.shtml
วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562
ประวัติดอกกล้วยไม้
ประวัติดอกกล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอก และสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท
มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อ และส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้
ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
ประวัติการปลูกกล้วยไม้ในประเทศไทย
คนไทยได้รู้จัก และนำกล้วยไม้พันธุ์ท้องถิ่นมาปลูก และใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยมักเป็นการนำกล้วยไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ต่อมามีการนำพันธุ์กล้วยไม้จากต่างประเทศเข้ามา และขยายการ ปลูกเลี้ยงมากขึ้น โดย Thammasiri ( 1997 ) ได้รายงานว่าชาวต่างชาติที่มาทำงานในประเทศไทยได้นำกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากที่อื่นเข้ามาด้วยตั้งแต่ พ.ศ. 2456 และปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรก หรือซื้อขายกันในวงแคบ ๆ ภายในประเทศ และได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
จนกระทั่งได้มีเจ้านายพระองค์หนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในสมัยนั้น คือ กรมนครสวรรค์วรพินิจ ได้สนพระทัยในการเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรก และได้ทรงศึกษาจากตำราต่างประเทศ ซึ่งรังกล้วยไม้ของพระองค์ท่านได้เป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้นในนาม กล้วยไม้วังบางขุนพรหม เและในปี พ.ศ. 2460 พระองค์ท่านได้ทรงแปล และจัดพิมพ์หนังสือชื่อ ตำราเล่นกล้วยไม้ ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับกล้วยไม้เป็นภาษาไทยเล่มแรก แต่การเล่นกล้วยไม้ในสมัยนั้นยังคงมีการหมุนเวียนอยู่ในวงผู้มีฐานะดี เนื่องจากยังไม่มีผู้ใดริเริ่มในการวางแผน และดำเนินการหาช่องทางที่จะพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งการปลูกกล้วยไม้ซึ่งอยู่แล้วได้ทรุดลงไปเนื่องจากสภาพสังคมของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไป
ในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการนำหวายพันธุ์ปอมปาดัวร์
( Dendrobium Pompadour ) ซึ่งคนไทยเรียกกันติดปากว่า หวายพันธุ์มาดาม เข้ามาปลูกเลี้ยง และเป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโต และให้ผลผลิตดี มีอายุการปักแจกันนานเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ทำให้วงการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอกเป็นการค้าเฟื่องฟูขึ้นในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการนำหวายพันธุ์ปอมปาดัวร์
ในปี พ.ศ. 2490 ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ซึ่งท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวงการกล้วยไม้ไทย เพราะท่านได้ศึกษาค้นคว้า และให้การฝึกอบรมสอนวิชากล้วยไม้ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย และในปีนี้ได้มีการส่งออกดอกกล้วยไม้ไปต่างประเทศ ประมาณ และมูลค่าการส่งออกก็เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการสถาปนาชมรมกล้วยไม้เป็นสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และในปัจจุบันนี้ได้มีการจัดทำมาตราฐานกล้วยไม้ของประเทศไทยในสกุลสำคัญที่มีการส่งออกอยู่เสมอ ๆ เช่น หวาย, ออนซิเดียม, ม็อคคาร่า, อะแรนด้า และแวนด้า เพื่อช่วยให้การค้ากล้วยไม้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)